“The land reform movement in Thailand”

A very interesting read. “The land reform movement in Thailand” by ajarn Prapimphan Chiengkul.

Prapimphan Chiengkul

The chapter “The land reform movement in Thailand” from my book can now be downloaded online (free access)
 
book image

View original post

Not about 2019 Thai Election

You think I write my own content? Dead wrong. Excerpt from Czeslaw Milosz’s “The Captive Mind” (1953)

“Whether a man who has taken the Murti-Bing cure attains internal peace and harmony is another question. he attains a relative degree of harmony, just enough to render him active. It is preferable to the torment of pointless rebellion and groundless hope. The peasants, who are incorrigible in their petty bourgeois attachments, assert that “a change must come, but this can’t go on.” This is an amusing belief in the natural order of things. A tourist, as an anecdote tells us, wanted to go up to the mountains, but it had been raining for a week. He met a mountaineer walking by a stream, and asked him if it would continue to pour. The mountaineer looked at the rising waters and voiced the opinion that it would not. When asked on what basis he had made his prediction, he said, “Because the stream would overflow.” Murti-Bing holds such magic judgments to be phantoms of a dying era. The “new” is striving to overcome the “old,” but the “old” cannot be eliminated all at once.

The one thing that seems to deny the perfection of Murti-Bing is the apathy that is born in people, and that lives on in spite of their feverish activity. It is hard to define, and at times one might suppose it to be a mere optical illusion. After all, people bestir themselves, work, go to the theatre, applaud speakers, take excursions, fall in love, and have children. Yet there is something impalpable and unpleasant in the human climate of such cities as Warsaw or Prague. The collective atmosphere, resulting from an exchange and a re-combination fo individual fluids, is bad. It is an aura of strength and unhappiness, of internal paralysis and external mobility. Whatever we may call it, this much is certain: if Hell should guarantee its lodgers magnificent quarters, beautiful clothes, the tastiest food, and all possible amusements, but condemn them to breathe in this aura forever, that would be punishment enough.

No propaganda, either pro or con, can capture so elusive and little-known a phenomenon. It escapes all calculations. It cannot exist on paper. Admitting, in whispered conversation, that something of the sort does exist, one must seek a rational explanation for it. Undoubtedly the “old,” fearful and oppressed, is taking its vengeance by spilling forth its inky fluid like a wounded octopus. But surely the socialist organism, in its growth toward a future of guaranteed prosperity, is already strong enough to counteract this poison; or perhaps it is too early for that. When the younger generation, free from the malevolent influence of the “old,” arises, everything will change. Only, whoever has observed the younger generation in the Center is reluctant to cast such a horoscope. Then we must postpone our hopes to the remote future, to a time when the Center and every dependent state will supply its citizens with refrigerators and automobiles, with white bread and a handsome ration of butter. Maybe then, at last, they will be satisfied.

Why won’t the equation work out as it should, when every step is logical? Do we have to use non-Euclidian geometry on material as classic, as adaptable, and as plastic as a human being? Won’t the ordinary variety satisfy him? What the devil does a man need?”

หนังสือที่ผมกำลังอ่าน – มกราคม 2562

  1. “Home” โดย Leila S. Chudori (แปลจากบาฮาซาอินโดนีเซียเป็นอังกฤษโดย John H. Mcglynn) นวนิยายที่เกี่ยวกับชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองอินโดนีเซียที่ใช้ชีวิตอยู่ในปารีสหลังการกวาดล้างทางการเมืองในอินโดนีเซียช่วงทศวรรษ 1960
  2. “A Short History of Indonesia: The Unlikely Nation” โดย Colin Brown
  3. “Identity: Contemporary Identity Politics and the Struggle for Recognition” เล่มใหม่ของ Francis Fukuyama (อ่าน excerpt เกี่ยวกับการเมืองไทยที่นี่)
  4. “A Life Beyond Boundaries: A Memoir” อัตชีวประวัติของ Benedict Anderson
  5. “Thailand Unhinged: The Death of Thai-Style Democracy” โดย Federico Ferrara
  6. “Capital: Vol I” เพราะว่าถึงเวลาต้องศึกษาอย่างจริงจัง ตั้งใจว่าจะอ่านตั้งแต่เรียนปีหนึ่งสมัยปริญญาตรีที่มธ. แต่ผลัดวันประกันพรุ่งจนถึงทุกวันนี้

สองเล่มแรกนี้อ่านเนื่องจากกำลังศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำและการเมือง โดยเฉพาะเรื่องชนชั้น และเรื่องการปฏิรูปนโยบายอุดหนุนพลังงานและนโยบายสวัสดิการ เล่มแรกทำให้คิดถึงชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองไทยในยุคปัจจุบันมาก

อ่านเล่มไหนเสร็จ ว่างๆ จะลองเขียนรีวิวส่งให้อ่านกันนะครับ

Fukuyama’s “Identity” on Thailand

เนื่องในโอกาสใกล้ปีใหม่ ผมเดินไปซื้อหนังสือเล่มใหม่ของ Fukuyama เรื่อง “Identity: contemporary identity politics and the struggle for recognition” ซึ่งผมตั้งใจว่าจะเป็นหนังสือเล่มแรกที่ผมจะอ่านจบในปี 2562

เวลาได้หนังสือเล่มใหม่มา นิสียเสียที่ผมทำเป็นประจำคือเปิดไปหน้าท้ายดู index (หรือดัชนี) แล้วดู keyword ที่ผมสนใจมากเป็นพิเศษ

คำแรกที่ผมเปิดหาในหนังสือเล่มนี้คงไม่พ้น “พิเก็ตตี้” เนื่องจากผมต้องการมุมมองของนักสังคมศาสตร์ท่านอื่นๆ ต่อบิดาของแล็บและผู้ว่าจ้างปัจจุบันของผม (ไม่ได้พูดอะไรมาก เพียงแต่พูดถึงข้อมูลการกระจายรายได้ของโลกในหนังสือ capital)

คำที่สองที่ผมมองหาคือ “Thailand” ผมขออนุญาติใส่ exerpt มาให้อ่าน โฆษณาหนังสือให้ทุกคนหาอ่านและแลกเปลี่ยนความคิดไปพร้อมๆ กันด้วย

Loss of middle-class status may explain one of the most bitter polarizations in contemporary politics, which has emerged in Thailand. The country has been riven by an intense polarization between “yellow shirts” and “red shirts,” the former upper-class supporters of the monarchy and military and the latter supporters of the Thai Rak Thai party, led by Thaksin Shinnawatra. This conflicts, which closed down much of Bangkok in 2010 and resulted in a yellow-shirt-supported military coup, has alternatively been seen as a fight over ideology based on the redistribution programs that Thaksin and his sister Yingluck […] provided to rural Thais, or else a fight about corruption. Federico Ferrara argues, however, that it is better seen as a fight over recognition. Traditional Thai society had been rigidly stratified based on perceived “Thainess,” the geographical and ethnolinguistic distance of people from the elite in Bangkok. Decades of economic growth had raised up many of Thaksin’s voters, who began to assert their provincial identities in ways that enraged the Bangkok elite. It was often the middle-class Thais who became the most politically engaged, and that explains why an apparently economic conflict become a zero-sum game driven by thymos.

The perceived threat to middle-class status may then explain the rise of populist nationalism in many parts of the world in the second decade of the twenty-first century.

หน้า 86-87 ของ Fukuyama, F. (2018). 
Identity: Contemporary Identity Politics and the Struggle for Recognition. London, UK: Profile Books.

ข้อสรุปนี้เป็นอะไรที่ไม่ใหม่แล้ว ในแวดวงวิชาการไทยก็มีงานของอาจารย์ ธร ปีติดล ที่ได้เขียน “เข้าใจบทบาททางการเมืองของคนชั้นกลางระดับบนในประเทศไทย: กรณีศึกษาจากปรากฏการณ์ กปปส.” ในโครงการวิจัยชุด ‘การเมืองคนดี’: ความคิด ปฏิบัติการ และอัตลักษณ์ทางการเมืองของผู้สนับสนุน ขบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย” (อ่านสัมภาษณ์อาจารย์ได้ ที่นี่ และ ที่นี่ ส่วนชุดงานวิจัยตัวเต็ม ที่นี่)

เอาเข้าจริง (และตรงกับประเด็นมรดกความคิดมาร์กซ์ที่ Milanovic พึ่งได้พูดถึง) อ่านแล้วก็ไม่ได้เอะใจอะไรเพราะในไทยเราดูเหมือนตกลงกันได้นานแล้วว่า ถ้าจะพูดถึงปัญหาการเมืองไทยในยุคหลังปี 40 ก็จะหยุดไม่พ้นความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองชนชั้น (class conflicts) และโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

แต่ยังไงอ่านเสร็จเดี๋ยวจะเขียนรีวิวให้อ่านกันดูครับ

ฤดูร้อนไม่เป็นเช่นเคย

“เมื่อตอนคุณเกิด [ปี 2537] กรุงเทพมีวันที่อุณหภูมิร้อนเกิน 32 องศาประมาน 228 วัน”
“ปัจจุบัน กรุงเทพมีวันที่ร้อนอย่างนี้ 276 วัน โดยเฉลี่ย”

เพิ่มขึ้น 48 วัน หรือ เดือนครึ่งกับอีกนิดๆ (quick maf.)

“เมื่อถึงเวลาที่คุณอายุ 80 โมเดลคาดเดาว่ากรุงเทพจะมีวันทีร้อนเกิน 32 องศา 318 วัน (อย่างต่ำ 294 วัน และอย่างมาก 344 วัน)

เพิ่มขึ้นทั้งหมด จากปีที่เกิด 90 วัน (หรือประมาน 3 เดือน)

มีหวังได้เกษียณที่ปารีส ที่ระหว่างปีที่เกิดกับปีที่อายุแปดสิบ เพิ่มขึ้น 5 วันเท่านั้น เป็นร้อนมาก 8 วัน (สึส).

––––––––
เพิ่มเติม: ดูจากในรูปแล้ว ประเทศที่น่าจะเจอผลกระทบของโลกร้อน (นับเป็นวันที่มีอากาศร้อนเกิน 32 องศา) ก็คือประเทศที่กำลังพัฒนาในปัจจุบัน อย่างมากก็ยกเว้น ประเทศแถบแอฟริกาเหนือกับลาตินอเมริกาใต้ๆ

อ่านเพิ่มเติมได้ในลิงค์ข้างล่าง งานวิจัยโดย Climate Impact Lab.

ประกาศการเกิดใหม่ของบล็อก!

ผมตัดสินใจกลับมาเขียนบล็อกส่วนตัวเป็นเรื่องเป็นราวครั้งนี้เนื่องจากเหตุผลหลัก ๆ สองประการ

ประการแรก: ผมคิดว่าในฐานะที่ตั้งใจว่าจะเป็นนักวิจัย นักสังคมศาสตร์ที่ดี ผมต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความคิดและงานวิจัยของผมได้อย่างชัดเจน ซึ่งทักษะการเขียนจะไม่เกิดขึ้นถ้าเขียนน้อย (และอ่านน้อย) แน่นอนว่าทักษะการเขียนอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้ผมเป็นนักวิจัยที่ดีได้ ทักษะการคิดวิเคราะห์จับประเด็นมีความสำคัญอย่างน้อยก็ในระดับเดียวกัน แต่ทั้งสองอย่างมันไปพร้อมกัน นักเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่า complementary skills (แหม่ โพสแรกก็ jargon เลย) นี่คือสาเหตุหลักประการแรกที่ผมว่า

อีกอย่าง ผมกลัวว่าความคิดที่ผมได้จากการสนทนากับคนรอบตัว หนังสือ งานวิจัย และเหตุการณ์ทางสังคมการเมืองต่าง ๆ จะเลือนหายไปง่าย ๆ หากผมไม่ได้บันทึกเอาไว้

ประการที่สอง: ผมตั้งปณิธานว่าผมจะออกความคิดเห็นแบบง่าย ๆ สั้นๆ ผ่านการแชร์ข่าวหรือบทความในเฟสบุ๊คน้อยลง (ทวิตเตอร์ผมพึ่งกลับมาเล่น แต่ก็ retweet อย่างเดียวซะส่วนใหญ่) ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ผมต้องผลิตและถ่ายทอดความคิดของผมให้สังคมบ้าง ไม่ใช่บริโภคด้านเดียว

นอกจากนี้แล้ว ด้วยวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่เสร็จไป (เดี๋ยวผมจะนำมาลงในบล็อกนี้เมื่อตีพิมพ์เรียบร้อย) ผมจะเริ่มเขียนบทความที่ผมได้สัญญาหลายท่านไว้ว่าจะเขียนตั้งแต่เรียนปริญญาโทยังไม่จบ แล้วจะนำมาลงโฆษณาในนี้ด้วย

ผมยินดีรับความคิดเห็นเสมอ ทุกท่านสามารถโพสคอมเมนท์หรือส่งอีเมลมาหาผมได้ ท้ายสุด ผมอยากจะฝากอีกบล็อกนึงที่ผมร่วมเป็นผู้เขียนอยู่ด้วย เป็นพื้นที่รวบรวมความคิดและประสบการณ์ด้านการศึกษา วิชาการ และสังคม-การเมืองของนักศึกษาไทยในต่างประเทศ

ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

ป.ล. ฝากวงที่ผมติดมากตอนนี้ไว้ด้วยละกัน