เนื่องในโอกาสใกล้ปีใหม่ ผมเดินไปซื้อหนังสือเล่มใหม่ของ Fukuyama เรื่อง “Identity: contemporary identity politics and the struggle for recognition” ซึ่งผมตั้งใจว่าจะเป็นหนังสือเล่มแรกที่ผมจะอ่านจบในปี 2562
เวลาได้หนังสือเล่มใหม่มา นิสียเสียที่ผมทำเป็นประจำคือเปิดไปหน้าท้ายดู index (หรือดัชนี) แล้วดู keyword ที่ผมสนใจมากเป็นพิเศษ
คำแรกที่ผมเปิดหาในหนังสือเล่มนี้คงไม่พ้น “พิเก็ตตี้” เนื่องจากผมต้องการมุมมองของนักสังคมศาสตร์ท่านอื่นๆ ต่อบิดาของแล็บและผู้ว่าจ้างปัจจุบันของผม (ไม่ได้พูดอะไรมาก เพียงแต่พูดถึงข้อมูลการกระจายรายได้ของโลกในหนังสือ capital)
คำที่สองที่ผมมองหาคือ “Thailand” ผมขออนุญาติใส่ exerpt มาให้อ่าน โฆษณาหนังสือให้ทุกคนหาอ่านและแลกเปลี่ยนความคิดไปพร้อมๆ กันด้วย
Loss of middle-class status may explain one of the most bitter polarizations in contemporary politics, which has emerged in Thailand. The country has been riven by an intense polarization between “yellow shirts” and “red shirts,” the former upper-class supporters of the monarchy and military and the latter supporters of the Thai Rak Thai party, led by Thaksin Shinnawatra. This conflicts, which closed down much of Bangkok in 2010 and resulted in a yellow-shirt-supported military coup, has alternatively been seen as a fight over ideology based on the redistribution programs that Thaksin and his sister Yingluck […] provided to rural Thais, or else a fight about corruption. Federico Ferrara argues, however, that it is better seen as a fight over recognition. Traditional Thai society had been rigidly stratified based on perceived “Thainess,” the geographical and ethnolinguistic distance of people from the elite in Bangkok. Decades of economic growth had raised up many of Thaksin’s voters, who began to assert their provincial identities in ways that enraged the Bangkok elite. It was often the middle-class Thais who became the most politically engaged, and that explains why an apparently economic conflict become a zero-sum game driven by thymos.
The perceived threat to middle-class status may then explain the rise of populist nationalism in many parts of the world in the second decade of the twenty-first century.
หน้า 86-87 ของ Fukuyama, F. (2018).
Identity: Contemporary Identity Politics and the Struggle for Recognition. London, UK: Profile Books.
ข้อสรุปนี้เป็นอะไรที่ไม่ใหม่แล้ว ในแวดวงวิชาการไทยก็มีงานของอาจารย์ ธร ปีติดล ที่ได้เขียน “เข้าใจบทบาททางการเมืองของคนชั้นกลางระดับบนในประเทศไทย: กรณีศึกษาจากปรากฏการณ์ กปปส.” ในโครงการวิจัยชุด ‘การเมืองคนดี’: ความคิด ปฏิบัติการ และอัตลักษณ์ทางการเมืองของผู้สนับสนุน ขบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย” (อ่านสัมภาษณ์อาจารย์ได้ ที่นี่ และ ที่นี่ ส่วนชุดงานวิจัยตัวเต็ม ที่นี่)
เอาเข้าจริง (และตรงกับประเด็นมรดกความคิดมาร์กซ์ที่ Milanovic พึ่งได้พูดถึง) อ่านแล้วก็ไม่ได้เอะใจอะไรเพราะในไทยเราดูเหมือนตกลงกันได้นานแล้วว่า ถ้าจะพูดถึงปัญหาการเมืองไทยในยุคหลังปี 40 ก็จะหยุดไม่พ้นความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองชนชั้น (class conflicts) และโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
แต่ยังไงอ่านเสร็จเดี๋ยวจะเขียนรีวิวให้อ่านกันดูครับ